Icon Circle Back
Icon Circle Back

ทรายก่อสร้าง มีกี่ประเภท? เหมาะกับงานแบบไหน

วิธีเลือกสินค้าให้ตรงพื้นผิว

Icon Tag
ทรายก่อสร้าง มีกี่ประเภท? เหมาะกับงานแบบไหน

ทราย วัสดุเล็กๆ ที่สำคัญไม่แพ้โครงสร้าง!

แม้ว่าทรายจะดูเหมือนวัสดุก่อสร้างพื้นฐานที่เราอาจมองข้าม แต่ความจริงแล้ว "ทราย" มีบทบาทสำคัญอย่างมากในงานก่อสร้างแทบทุกประเภท

ไม่ว่าจะเป็นการผสมคอนกรีต งานก่อ งานฉาบ หรือแม้แต่งานถมดิน แต่ทรายไม่ได้มีแค่ชนิดเดียว แต่ละประเภทก็มีคุณสมบัติและการใช้งานที่เหมาะสมแตกต่างกันไป  การเลือกใช้ทรายให้เหมาะกับงานจึงเป็นหัวใจสำคัญของช่างมืออาชีพ เพราะถ้าเลือกผิด อาจกระทบต่อความแข็งแรงของโครงสร้าง หรือความเรียบร้อยของงานตกแต่งได้โดยไม่รู้ตัว

มาดูกันเลยค่ะว่า ทรายในงานก่อสร้างมีกี่ประเภท? และแต่ละชนิดเหมาะกับงานแบบไหนบ้าง?

1. ทรายหยาบ

ลักษณะ:  เม็ดทรายขนาดใหญ่ มีความคม ไม่กลมมน  ผ่านการร่อนเอาสิ่งสกปรกออกแล้ว

เหมาะกับงาน

งานโครงสร้างคอนกรีต เช่น เสา พื้น ฐานราก คาน → ใช้ผสมกับปูนซีเมนต์และหินเพื่อทำคอนกรีต

งานเทพื้นถนนหรือพื้นโรงรถ → ต้องการรับน้ำหนักและทนต่อแรงกระแทก

งานเสริมเหล็กโครงสร้าง → ทรายหยาบจะช่วยให้คอนกรีตจับกับเหล็กได้ดีขึ้น

เหตุผลที่ใช้:  เม็ดหยาบช่วยลดการหดตัวของคอนกรีต  เพิ่มความแข็งแรงให้กับโครงสร้าง

2. ทรายกลาง

ลักษณะ:  เม็ดทรายขนาดกลาง ค่อนข้างกลม  สะอาดกว่าทรายถม แต่ไม่ละเอียดเท่าทรายฉาบ

เหมาะกับงาน

งานก่ออิฐบล็อก/อิฐมอญ → ใช้ผสมปูนก่อ เพื่อให้มีแรงยึดเกาะที่เหมาะสม

งานเทพื้น/พื้นสำเร็จ ที่ไม่เน้นรับน้ำหนักมาก → เช่น ทางเดินรอบบ้าน พื้นระเบียง

เหตุผลที่ใช้:  ยึดเกาะดีแต่ไม่ทำให้ปูนแน่นเกินไป  เหมาะกับงานที่ต้องการสมดุลระหว่างแรงยึดเกาะและความเรียบของผิวงาน


ทรายก่อสร้าง มีกี่ประเภท? เหมาะกับงานแบบไหน

3. ทรายละเอียด (ทรายฉาบ)

ลักษณะ:  เม็ดทรายเล็ก เรียบกลม เนื้อเนียน  ผ่านการกรองอย่างละเอียด ไม่มีเศษดินหรือหินปน

เหมาะกับงาน

งานฉาบผนังภายในและภายนอก → ช่วยให้ผิวผนังเรียบเนียน สวยงาม

งานตกแต่งภายใน → เช่น ฉาบบาง งานเก็บรายละเอียด งานขัดมัน

งานทำปูนขาวหรือปูนปลาสเตอร์

เหตุผลที่ใช้:  ให้ผิวฉาบที่เรียบเนียน  ลดรอยต่อและรอยขรุขระของพื้นผิว  ทำให้สีหรือวัสดุปิดผิวเกาะได้ดีในขั้นตอนต่อไป

4. ทรายถม

ลักษณะ:  เม็ดทรายหยาบถึงกลาง ผสมดินหรือเศษกรวด  ไม่สะอาดเท่าทรายก่อสร้างทั่วไป

เหมาะกับงาน

ถมที่ปรับระดับดินก่อนสร้างบ้าน

ถมถนน หรือพื้นที่วางท่อระบายน้ำ

ถมรองพื้นก่อนเทพื้น/หล่อฐานราก

เหตุผลที่ใช้:  มีราคาถูก  ไม่เน้นความสะอาดหรือแรงยึดเกาะ  ใช้เพื่อปรับระดับหรือทำให้พื้นแน่นก่อนสร้าง